เครื่องลดความชื้น ( Dehumidifier )
ความชื้นสัมพัทธ์ของประเทศไทยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 70-85 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นค่าที่สูงมากพอสมควร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดเชื้อราได้มากขึ้นและเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ต่างๆ ตามมา dehumidifier คือเครื่องลดความชื้น ในบ้าน อาคาร โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ห้องแบบปิดที่ไม่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ค่อยได้รับแสงเต็มที่ เพื่อทำให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดีขึ้น ลดการเกิดเชื้อราในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงป้องกันการเกิดสนิมกับเครื่องจักร และป้องกันเชื้อโรค รวมถึงโรคภูมิแพ้ เพื่อให้สุขภาพร่างกายของเราปลอดภัย
เครื่องลดความชื้น (Dehumidifier)
หลักการทำงานของเครื่องลดความชื้น คือ มีลักษณะการทำงานคล้ายกับแอร์ ซึ่งช่วยในการลดความชื้นและดูดความชื้นจากอากาศผ่านแผงคอยล์เย็น ทำหน้าที่ให้ความชื้นในอากาศกลายเป็นหยดน้ำและปล่อยอากาศร้อนหรืออากาศแห้งเข้ามาแทนที่ ซึ่งความชื้นที่อยู่ในรูปแบบของหยดน้ำจะถูกปล่อยทิ้งไปตามท่อน้ำทิ้ง
ส่วนประกอบหลักๆ ของ เครื่อง dehumidifier หรือ เครื่องลดความชื้น
- เซ็นเซอร์อุณหภูมิ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัววัดค่าอุณหภูมิ
- เซ็นเซอร์ความชื้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัววัดค่าความชื้น
- มอเตอร์พัดลม ทำหน้าที่คอยระบายความร้อนจากเครื่องออกมาแทนที่ความชื้น
- เมนบอร์ดควบคุม ซึ่งอยู่ในตัวเครื่องเป็นชุดควบคุมระบบการทำงานทั้งหมด
เครื่องลดความชื้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- เครื่องลดความชื้นแบบดูดซับ Desicant Dehumidifiers (เครื่องดูดความชื้น)
- เครื่องลดความชื้นแบบใช้ความร้อน โดยการใช้ฮีตเตอร์เพิ่มความร้อนภายในห้อง
- เครื่องลดความชื้นแบบกลั่นตัวเปลี่ยนสถานะ Condensation Dehumidifiers ทำหน้าที่ในการดึงอากาศภายในห้องผ่านแผงคอยล์เย็นและกลั่นตัวความชื้นในอากาศให้กลายเป็นหยดน้ำ จึงปล่อยอากาศแห้งเข้ามาแทนที่
เครื่องลดความชื้นหรือเครื่องดูดความชื้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.เครื่องลดความชื้นประเภทคอมเพรสเซอร์
เหมาะกับฤดูร้อนและฤดูฝน เนื่องจากสามารถลดความชื้นในอากาศโดยไม่ต้องเพิ่มอุณหภูมิห้องกลไกการทำงานคือดึงความร้อนและความชื้นเข้าเครื่องแล้วทำให้เย็นลงแต่ข้อเสียของเครื่องลดความชื้นแบบคอมเพรสเซอร์นั้นคือมีขนาดใหญ่กว่าประเภทอื่นๆและอาจมีเสียงการทำงานที่ดังคล้ายกับเครื่องปรับอากาศ
2. เครื่องลดความชื้นแบบเดสิคแค้นท์ (เครื่องดูดความชื้น)
เหมาะกับฤดูหนาว อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเนื่องจากอากาศจะถูกดูดเข้าไปในอุปกรณ์ทำความร้อนหรือฮีตเตอร์เพื่อทำให้อากาศร้อน หลังจากนั้นกระจายออกมาอีกครั้งทำให้อุณหภูมิห้องสูงขึ้น ข้อดีของเครื่องลดความชื้นแบบเดสิคแค้นท์ คือจะไม่มีเสียงดังรบกวนหรือมีเสียงที่เงียบกว่าเครื่องลดความชื้นประเภทอื่นๆแต่ข้อเสียคืออาจใช้ไฟมากกว่า
3.เครื่องลดความชื้นแบบเซมิคอนดักเตอร์
เป็นเครื่องลดความชื้นที่มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการวางในที่แคบ แล้วไม่ส่งเสียงรบกวนเมื่อเปิดใช้งานเหมือนกับเครื่องดูดอากาศรุ่นอื่นๆแต่ด้วยความที่มีขนาดเล็กจึงเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัดยกตัวอย่างเช่นตู้เสื้อผ้าใต้เตียงหรือใต้โต๊ะเป็นต้นเพื่อดูดความชื้นและสามารถดูดกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์ได้ อย่างไรก็ตามเครื่องลดความชื้นประเภทนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ในฤดูหนาวเพราะอาจทำงานได้ไม่ค่อยดีนักในอุณหภูมิที่ต่ำในขณะเดียวกันกำลังไฟในการดูดความชื้นก็อาจไม่เพียงพอต่อการดูดความชื้นที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของห้องได้
เครื่องลดความชื้น เครื่องดูดความชื้น เหมาะสำหรับใคร ?
เครื่องลดความชื้นหรือเครื่องดูดความชื้นเหมาะสำหรับใช้ในบ้านเรือน อาคาร สำนักงานและในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก หรือใช้ในห้องแบบปิด คลังเก็บของคลังเก็บสินค้าต่างๆ ที่มักนิยมใช้เครื่องลดความชื้นอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการเกิดสนิม หรือเชื้อราแก่ผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกันก็เหมาะสำหรับใช้ในบ้านหรือในครัวเรือน หากสมาชิกในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
เหตุผลที่คุณควรเลือกใช้เครื่องลดความชื้น (Dehumidifier) จากแบรนด์ ORION
เครื่องลดความชื้น (Dehumidifiers) อุตสาหกรรม แบรนด์ ORION มีข้อดี ดังนี้
- ควบคุมความชื้นได้อย่างแม่นยำ
- ประหยัดพลังงาน
- ใช้งานง่าย
- เครื่องเล็กขนาดกะทัดรัดสามารถเคลื่อนย้ายหรือพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก
- สามารถบำรุงรักษาได้ง่าย
เครื่องลดความชื้นแนะนำจากแบรนด์ ORION
- Dehumidifiers of Stationary type
- Dehumidifiers of portable type
ลดความชื้นในอากาศ ปกป้องสินค้า ดูแลรักษาเครื่องมือ ลดสนิมในอุปกรณ์หรือเครื่องจักร กำจัดการเจริญเติบโตของเชื้อรา และป้องกันโรคภูมิแพ้ มองหาเครื่องลดความชื้น (Dehumidifiers) หรือเครื่องดูดความชื้นอุตสาหกรรม แบรนด์ ORION การันตีด้วยคุณภาพในระดับสากล
ซื้อเครื่องดูดความชื้นอุตสาหกรรม คลิกที่นี่ : https://www.siamseimitsu.co.th/dehumidifiers/
ติดต่อเรา
Best Seller Product
เครื่องลดความชื้น (Dehumidifier)